วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Balanced Scorecard : BSC ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มที่ 11



Balanced Scorecard : BSC  ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


ทองมา วิจิจรพงศ์พันธุ์ พฤกษาเอาหลักบริหาร Supply Chain มาใช้กับอสังหาริมทรัพย์ โดยบริหารองกรค์ภายใต้ Balance Score Card ก็ตอบสนองลูกค้าทางด้าน Customer Satisfaction

BSC, Significant Technique for organization manangment 
เมื่อต้องเอ่ยถึง BSC ในยุคปัจจุบันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จัก เพราะทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำ BSC เข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ โดยอาศัย KPI เป็นกลไกวัดความสำเร็จขององค์กรอีกครั้งหนึ่ง BSC ย่อมาจากคำว่า Balanced Scorecard เป็นระบบการจัดการขององค์กร โดย Robert Kaplan และ David Norton ได้พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยังเป็นเครื่องมือในการบริหารที่ช่วยทำให้องค์กรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับกลยุทธ์มากขึ้นKPI ย่อมาจากคำว่า Key Performance Indicator ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้ ในการวัดหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรว่าเป็นอย่างไร
ถึงแม้ว่าเครื่องมือการบริหารจัดการ  ที่เรียกว่า BSC จะเป็นที่ยอมรับจากองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก ว่าเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการและการที่องค์กรจะนำมาใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้น คงไม่เป็นเรื่องที่ง่ายนักและบทความนี้จึงนำเสนอเทคนิคของการนำ BSC และ KPI ที่สำคัญในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการบริหาร จัดการองค์กร ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการวางแผน (planning)
          การจัดทำแผนนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการบริหารจัดการ ซึ่งหากองค์กรมีการวางแผนที่ดี จะช่วยให้รู้จักตนเอง รู้จักคู่ต่อสู้ได้ดียิ่งขึ้น ดังคำกล่าวของซุนวู (Zun Tsu) ที่ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
          สิ่งสำคัญที่ช่วยให้การจัดทำแผนประสบความสำเร็จ คือการกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) โดยตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้นจะต้องครอบคลุมมิติต่าง ๆ ขององค์กร ทั้งองค์กรที่เป็นหน่วยงานภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน ซึ่งแต่ละองค์กรมีมิติที่แตกต่างกัน
 2. ขั้นตอนการนำแผนไปปฏิบัติ (implementation)
          เมื่อได้ดำเนินการจัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งก็คือการนำแผนไป ไปปฏิบัติ การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นำองค์กรจะต้องดำเนินการ โดยการจัดประชุมเพื่อชี้แจงนโยบายและจุดมุ่งหมายขององค์กรให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรรับทราบและเข้าใจ เมื่อผู้บริหารระดับสูงเข้าใจ ถึงแผนการดำเนินงานแล้วก็จะต้องดำเนินการสื่อสารให้ผู้บริหารระดับรองลงมาทราบ ผู้บริหารระดับรองลงมา ก็ต้องไปสื่อสารให้ผู้บริหารระดับหน่วยงานเป็นทอด ๆ ตามลำดับลงไปจนกระทั่งถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
3. ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล (monitoring and evaluation)
          ขั้นตอนนี้มีความง่ายมากขึ้นเพราะได้ผ่านขั้นตอนการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ เนื่องจากการใช้ BSC และ KPI มีส่วนช่วยให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อทราบ KPI แล้วก็จะสามารถติดตามและประเมินผลตาม KPI ที่ได้กำหนดไว้ให้บรรลุตามเป้าหมาย
4. ขั้นตอนการปรับปรุงมาตรฐานขององค์กร (standardization)
          เมื่อได้ทราบผลการดำเนินงานจากการติดตามและประเมินผลเรียบร้อยแล้ว องค์กรจะต้องนำผลการดำเนินงานที่ได้มาปรับปรุงมาตรฐาน ถ้าผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายองค์กรก็ต้องยกระดับเป้าหมายให้สูงขึ้นไปอีก แต่ถ้าผลการดำเนินงานยังต่ำกว่าเป้าหมาย องค์กรก็ต้องหาทางปรับแผน ปรับวิธีการทำงานเพื่อให้สามารถทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายให้ได้  
การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการนำ BSC มาใช้นั้นไม่ใช่เรื่องยากนักหาก
          1. ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารระดับสูงได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยการที่ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้ริเริ่มนำแนวคิด BSC มาใช้ นำการเปลี่ยนแปลงและผลักดันให้มีการนำแนวความคิดของ BSC มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ลงมือปฏิบัติเองเพราะจะเป็นหลักประกันว่าการใช้ BSC จะเป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง
          2. ทุกคนภายในองค์กรรับรู้และให้การสนับสนุนในการนำระบบ BSC มาใช้ในองค์กร
          3. ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลงาน โดยให้ทุกหน่วยงานกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPI) ที่เป็นรูปธรรม สื่อสารให้ทุกคนเข้าใจอย่างถูกต้องว่างานทุกชนิด พนักงานทุกคน ไม่ว่าทำงานฝ่ายใด สามารถวัดผลงานได้
          4. ไม่กำหนดตัวชี้วัดให้ยากหรือง่ายเกินไป ทั้งนี้หากกำหนดตัวชี้วัดที่ง่ายแต่ไม่เป็นตัวชี้วัดที่ดีและท้าทาย เช่นเดียวกันกับการกำหนดตัวชี้วัดที่ยากแต่ไม่สามารถที่จะทำให้บรรลุได้
          5. มีการสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานอยู่ตลอดเวลา 
หลักสำคัญของ BSC คือ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการบริหารจัดการและการวัดผลงาน เมื่อองค์กรได้นำเทคนิคทั้ง 4 ของ BSC เข้ามาใช้ในองค์กรแล้ว จะละเลยเสียขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมิได้เลย ทั้งนี้เพราะเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของการบริหารจัดการองค์กร และการที่จะเอาชนะคู่แข่งอื่น ๆ ได้นั้นองค์กรจะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานให้สูงกว่ามาตรฐานของคู่แข่งตลอดเวลาอีกด้วย  

Contomar Profile
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2536 ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว และอาคารชุด โดยเน้นการพัฒนาโครงการในทำเลที่มีศักยภาพ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จวบจนเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน พร้อมเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1,700 ล้านบาท เป็น 2,232.5 ล้านบาท และเข้าตลาดหลักทรัพย์ภายใต้รหัสหลักทรัพย์ “PS” เป็นครั้งแรกในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พฤกษา เรียลเอสเตท เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายที่มีการบริหารจัดการงานก่อสร้างด้วยตนเอง ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นที่จะจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งโครงการ และยังนำเทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์บางประเภท ทำให้ใช้เวลาในการสร้างน้อยลงกว่าวิธีเดิม 
นับตั้งแต่จัดตั้งบริษัทฯ ในปี 2536 จนถึงปัจจุบัน พฤกษา เรียลเอสเตท มีผลการดำเนินงานที่มีกำไรมาโดยตลอด 13 ปี แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และได้เปิดโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 48 โครงการ เป็นโครงการบ้านทาวน์เฮาส์ 33 โครงการ และโครงการบ้านเดี่ยว 15 โครงการ โดยพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวภายใต้แบรนด์ ภัสสรและ พฤกษาวิลเลจเน้นตลาดสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง โครงการบ้านทาวน์เฮาส์ภายใต้แบรนด์ บ้านพฤกษาและ พฤกษาวิลล์รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ซิตี้วิลล์คอนโดเน้นตลาดสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง และแบรนด์ ไอวี่คอนโดมิเนียมย่านใจกลางเมืองเพื่อคอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่

Business Situation
                ปัจจุบัน บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดการโอนบ้านสูงสูด มีการวางแผนด้านทำเลการก่อสร้างที่ชัดเจน มีโครงการหมู่บ้านทั้งที่ขายหมดแล้ว และกำลังเปิดขายอยู่หลายสิบโครงการ แต่ละโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีจำนวนบ้านหลายร้อยหลัง จึงทำให้เกิดความซับซ้อนในการบริหารโครงการ ต้นทุน การขาย และบุคลากรและเพื่อให้ พฤกษา เรียลเอสเตท คงความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย Cost Leadership จึงจำเป็นที่จะต้องบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กำจัดงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้งานต่างๆ ดำเนินไปโดยอัตโนมัติตามเวิร์กโฟลว์ ลดความสูญเปล่าต่างๆ (Waste) อันจะนำไปสู่การลดต้นทุนลงมา ซึ่งทาง พฤกษา เรียลเอสเตท ก็ตระหนักดีว่าระบบไอทีจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เช่น เชื่อมโยงการออกแบบกับกระบวนการก่อสร้าง โดยการแปลงแบบบ้านที่ออกแบบแล้ว เป็นรายการของวัสดุก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งจัดกลุ่มงานเพื่อให้สามารถนำมาวัดความคืบหน้าของโครงการได้ มีการเชื่อมโยงไปยังระบบจัดซื้อ เพื่อสั่งซื้อ สั่งผลิตวัตถุดิบโดยอัตโนมัติตามแผนงานที่วางไว้ มีการรายงานความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่องและแม่นยำเพื่อควบคุมให้โครงการดำเนินไปตามแผน ลดผลกระทบที่จะมีต่อการขายโครงการอันเนื่องมาจากโครงการล่าช้า เป็นต้น 
ณ ที่ไซต์งาน ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง และรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างบ้านแต่ละหลัง โดยวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานจำเป็นต้องตรวจสอบจุดต่างๆ จัดทำข้อสรุปพร้อมคำสั่งซื้อหรือคำสั่งแก้ไข และรายงานแจ้งกลับมาที่สำนักงานใหญ่ ความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ และการได้รับรายงานที่รวดเร็ว ทันท่วงที ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการบริหารโครงการอย่างยิ่ง 
ด้านงานขายโครงการในปัจจุบันก็มีการแข่งขันสูง ทำให้ไม่สามารถตั้งรับโดยรับจองบ้านที่สำนักงานขายเพียงแห่งเดียว บางครั้งลูกค้าอาจเดินชมงานนิทรรศการเกี่ยวกับบ้านที่ทาง พฤกษา เรียลเอสเตท เข้าร่วมออกบูธ และสั่งจองกับพนักงานขายที่บูธเลยก็ได้ ซึ่งต้องหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการจองซื้อบ้าน หรือห้องในคอนโดซ้ำซ้อนกัน รวมทั้งผู้บริหารก็ต้องการทราบสถานะการขายแต่ละโครงการ เพื่อให้แก้ปัญหา หรือปรับกลยุทธ์ทางการตลาดได้ทันท่วงที 
นอกจากนี้ การบริหารทรัพยากรบุคคลก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานในแต่ละส่วนงาน สามารถเข้าใจถึงเป้าหมายของบริษัทฯ และดำเนินการไปตามแผนงานที่กำหนด รวมทั้งการให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทด้วย โดยทั้งนี้ทาง พฤกษา เรียลเอสเตท ได้มีการนำระบบบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Management) ตาม Balanced Scorecard และ KPI (Key Performance Indicator) มาใช้ติดตามและวัดผล ตั้งแต่เมื่อราวสี่ปีก่อน แต่ยังเป็นการประมวลผลแบบแมนนวลอยู่ อีกทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ใช้วัดผลงานก็มีอยู่ในระบบไอทีอยู่แล้ว จึงเห็นว่า หากมีการนำแอพพลิเคชันด้านการบริหารผลการดำเนินงานมาใช้ จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

นางสาวประภัสสรา  ซาวคำเขต
รหัสนักศึกษา : 531705220
SECTION : AB
โปรแกรมวิชา การบริหารธุรกิจ(การจัดการทั่วไป)



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 03:42

    How to play Baccarat with other players in the US?
    If you're a seasoned player, Baccarat has 메리트 카지노 고객센터 to be played to understand the rules and structure of the game. Before you go for it, we are going to 바카라 explain the 인카지노

    ตอบลบ